สกัดดาวรุ่ง พระดังในอดีต !
วันนี้ชวนคุย เรื่องชวนคิดกันสักหน่อย หากคุณเป็นคนหนึ่งที่อายุ 40++ ก็น่าจะเคยได้ฟังข่าว เกี่ยวกับเรื่องราวอื้อฉาวของพระดัง
พระเด่น หลายรูปที่มีญาติโยมศรัทธาเลื่อมใสทั้งๆ ที่ในสมัยนั้นไม่มี Like & share แต่คนก็หลั่งไหลเข้ามาทำบุญจนแน่นศาลา เริ่มย้อนรอยกันไปตั้งแต่
ปี พ.ศ. 2533 พระครูใบฎีกานิกร ธรรมวาที วัดสันปง (พระนิกร) อ.พร้าว จ.เชียงใหม่
ปี พ.ศ. 2537 พระยันตระ อมโรภิกขุ (พระวินัย อมโร) วัดป่าสุญญตาราม
จ.กาญจนบุรี
ปี พ.ศ.2538 พระภาวนาพุทโธ วัดสามพราน
จ.นครปฐม
ปี พ.ศ. 2544 พระอิสรมุนี สำนักสงฆ์ป่าละอู จ.เพชรบุรี
ปี พ.ศ. 2541-2542 และ 2558-2559 พระเทพญานมหามุนี
หรือ พระไชยบูลย์ ธัมมชโย วัดพระธรรมกาย จ.ปทุมธานี
ในกรณีของอดีต พระนิกร, พระยันตระ, พระอิสระมุนี เป็นการกล่าวหาความผิดเรื่องเกี่ยวกับสตรี
ส่วนกรณีสุดท้ายเกี่ยวกับสตางค์ จากประวัติศาสตร์กว่า 2 ทศวรรษที่ผ่านมา ช่างน่าคิดตรงที่ว่า ทำไมพระที่กำลังโด่งดัง
มีคนเลื่อมใสศรัทธามากมักจะโดน
#สกัดดาวรุ่งแบบราบคาบ ?
อีกทั้งข้อกล่าวหานั้นมีหลักฐานรวบรัดมัดตัว จนทุกรูปต้องสึกหาลาเพศไปในที่สุด
ถึงจะจบแต่เจ็บทั้งพระ และญาติโยมที่รักหมดใจ
แล้วทำไม ? ในภาคต่อมา จึงยังมีคนที่ไม่เสื่อมศรัทธา แม้ท่านเหล่านั้นจะอยู่ในสภาพที่ไม่เป็นพระ! เช่น อดีตพระนิกรหลังจากลาสิกขาก็ยังคงนุ่งขาวห่มขาวถือศีล
อยู่ที่สำนักปฏิบัติธรรมดอยนางแล มีลูกศิษย์ทั้งไทยทั้งเทศไปมาหาสู่ตลอด จนท่านเสียชีวิตในปี
พ.ศ. 2557
หรือแม้แต่อดีตพระภาวนาพุทธโธขณะอยู่ในเรือนจำ ก็ยังมีลูกศิษย์ลูกหาไปฟังธรรม ปฏิบัติธรรมกันท่านกระทั่งในเรือนจำ
ส่วนกรณีของพระยันตระ ครั้งที่ท่านกลับมาเมืองไทย เมื่อปี พ.ศ. 2557 มีนักข่าวไปสัมภาษณ์กำนันนิยม กลิ่นมณฑา ลูกศิษย์อดีตพระยันตระ
เขาบอกว่าหลังจากที่อดีตพระยันตระ เดินทางกลับเข้ามายังประเทศไทย
และไปพักอาศัยที่บ้านเกิด อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช ก็ยังพบว่า
มีลูกศิษย์เดินทางไปกราบไหว้ท่านเป็นจำนวนมากเหมือนเดิม
ถึงแม้จะไม่ได้บวชเป็นพระแล้วก็ตาม
ตนเชื่อว่าเป็นเพราะคำสั่งสอนของท่านที่ดีในอดีต
นายนิยม กลิ่นมณฑา เปิดเผยอีกว่า ประมาณปี
พ.ศ.2527 ถึง 2528 พระยันตระ ได้เล็งเห็นความลำบากของชาวบ้านในพื้นที่ ต.ปรังเผล
เนื่องจากขณะนั้นเส้นทางการเดินทางลำบาก รถราไม่ค่อยมี ต่างจากสมัยนี้เป็นอย่างมาก
สมัยนั้นหากชาวบ้านรายใดเจ็บป่วย
หรือเป็นไข้จะต้องเดินทางไปรักษาที่โรงพยาบาลในตัวอำเภอสังขละบุรี หรือไม่ก็ไปรักษาที่โรงพยาบาลในพื้นที่
อ.ทองผาภูมิ อ.ไทรโยค หรือที่โรงพยาบาลพหลพลพยุหาเสนา ในตัว จ.กาญจนบุรี
ชาวบ้านบางรายเสียชีวิตระหว่างทาง
“พระยันตระ ได้บอกแก่ผม
และชาวบ้านว่าจะสร้างโรงพยาบาลให้แก่ชาวตำบลปรังเผล เพราะหากมีโรงพยาบาลก็จะทำให้ชาวบ้านได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที
และประมาณปี พ.ศ. 2529 พระยันตระ พร้อมกับชาวบ้านกำลังหาพื้นที่เพื่อก่อสร้างโรงพยาบาล
แต่สุดท้ายโรงพยาบาลก็ไม่ได้สร้างเพราะมาเกิดคดีความต่างๆ ขึ้นเสียก่อน
จนท่านต้องหนีไปอยู่ต่างประเทศนานเกือบ 20 ปี ยอมรับว่าชาวบ้านทุกคนเสียใจ
และเสียดายเป็นอย่างมาก
ชาวบ้านทุกคนหวังว่าสักวันหนึ่งพระยันตระจะเดินทางกลับมาอยู่ที่สำนักป่าสุญญตารามตามเดิม”
เอาเป็นว่าเรื่องความเชื่อเป็นสิทธิส่วนบุคคล ที่สุภาพชนไม่ควรก้าวล่วงใคร
แต่ยังมีคนจำนวนไม่น้อยเลย ที่เชื่อถือทุกข่าวที่นำเสนอผ่านทางสื่อหน้าจอ ฯลฯ
ถ้าข่าวสรุปว่าใครเลว เราก็เชื่อด้วยแถมช่วยด่า ข่าวว่าใครดีคนนั้นก็เป็นผู้วิเศษเกินมนุษย์
หารู้ไม่ว่านั่นคือการเสพข้อมูลอย่างไร้สติ โดยไม่ค้นหาความจริง ไม่รู้หลักเกณฑ์ และขั้นตอนการวินิจฉัยเรื่องราวต่างๆ
อย่างถูกต้อง
โดยเฉพาะเรื่องข้อกล่าวหาคดีความต่างๆ ในวงการพระสงฆ์ ที่นอกจากด้านกฎหมายบ้านเมืองแล้ว ยังมีเรื่องของธรรมวินัยสงฆ์ และธรรมเนียมปฏิบัติ
เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย หากเราไม่รู้จริงผสมโรงด้วยความเกรียน เราจะได้บาปในคราบผู้หวังดี
และที่สำคัญ “แพะ” กับ “แกะ” ยังไม่สูญพันธุ์ไปจากตาชั่งของบางประเทศ ยังไม่นับรวมเจ้ามนต์ดำ ที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่าอีกมากมายในสังคมใต้โต๊ะ
ประชาชนคนมีปริญญาอย่างเราๆ จึงตกเป็นเครื่องมือทำลายพระพุทธศาสนา
ของคนบางกลุ่มได้ง่ายโดยไม่ทันรู้ตัว
แถมมีบาปกรรมติดตัวอีกด้วย
ที่รื้อเรื่องนี้ขึ้นมาคิดก็ใช่ว่าจะโทษปี่โทษกลอง แต่อยากให้ลองมองอีกมุม
ก็ไม่เสียปัญญาจนเกินไป ส่วนกรณีวัดพระธรรมกายขอเว้นวรรคเอาไว้ เพราะศึกครั้งนี้ยังไม่สิ้นสุด ก็ได้แต่หวังว่าจะไม่มีใครมาทำร้ายพระพุทธศาสนาให้เสื่อมสูญไปได้ ช่วยกันสวดมนต์อธิษฐานกันนะคะ
คนทำรำพึง
9 ก.พ. 2559
Cr. บทสัมภาษณ์กำนันนิยมฯ จาก เวปผู้จัดการออนไลน์
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น